ป้ายจราจรมีกี่ประเภท

ป้ายจราจรเป็นอุปกรณ์เพื่อควบคุม เตือน แนะนำ ยานพาหนะบนท้องถนนเพื่อให้สามารถไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย เป็นระเบียบ และรวดเร็ว โดยต้องพิจารณาถึงความจำเป็นในการใช้ป้ายจราจรอย่างเหมาะสม ต้องสอดคล้องกับสภาพการจราจร ไม่ควรติดป้ายจราจรประเภทบังคับและเตือนเกินความจำเป็น เพราะจะทำให้ผู้ใช้ทางขาดความสนใจในป้ายจราจร แต่การติดตั้งป้ายจราจรประเภทแนะนำเป็นระยะ จะยิ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ทางมากยิ่งขึ้น การติดตั้งป้ายจราจรต้องคำนึงถึงมาตรฐานของป้าย ความกว้างของผิวทาง จำนวนช่องจราจร และความจำเป็นตามจุดที่เหมาะสม

ประเภทของป้ายจราจร

  1. ป้ายบังคับ เป็นป้ายเพื่อบังคับและควบคุมการจราจร ติดตั้งไว้เพื่อให้ผู้ใช้ทางปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมมีความผิดตามกฏหมาย
  2. ป้ายเตือน เป็นป้ายเพื่อเตือนให้ผู้ใช้ทางทราบล่วงหน้าถึงลักษณะการจราจรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือมีอันตราย ให้ผู้ใช้ทางได้ระมัดระวังและลดความเร็วเพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
  3. ป้ายแนะนำ เป็นป้ายเพื่อแนะนำให้ผู้ใช้ทางในการเดินทางทราบถึงทิศทาง ข้อมูลต่าง ๆ ให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

ป้ายบังคับ ใช้เพื่อบังคับผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ห้ามฝ่าฝืน ต้องติดตั้งในที่ที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทาง ป้ายบังคับโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นแผ่นกลม แต่จะมีป้ายบังคับบางป้ายมีลักษณะอื่น เช่น ป้ายหยุดมีลักษณะเป็นรูปแปดเหลี่ยม ป้ายให้ทางมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เป็นต้น

ตัวอย่างป้ายบังคับ
ป้ายบังคับ

หยุด

ป้ายบังคับ

ให้ทาง

ป้ายบังคับ

ให้รถสวนทางมาก่อน

ป้ายบังคับ

ห้ามแซง

ป้ายบังคับ

ห้ามเข้า

ป้ายบังคับ

ห้ามกลับรถไปทางขวา

ป้ายบังคับ

ห้ามกลับรถไปทางซ้าย

ป้ายบังคับ

ห้ามเลี้ยวซ้าย

ป้ายบังคับ

ห้ามเลี้ยวขวา

ป้ายบังคับ

ห้ามจอดรถ

จำกัดความเร็ว

ป้ายบังคับ

จำกัดความสูง

ป้ายบังคับ

ให้เดินรถทางเดียวไปข้างหน้า

ป้ายบังคับ

เดินรถทางเดียวไปทางซ้าย

ป้ายบังคับ

ให้ชิดซ้าย

ป้ายบังคับ

ให้ชิดขวา

ป้ายบังคับ

ให้ไปทางซ้ายหรือทางขวา

ป้ายบังคับ

ให้เลี้ยวซ้าย

ป้ายบังคับ

ให้เลี้ยวขวา

ป้ายบังคับ

ให้ตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย

ป้ายบังคับ

ให้ตรงไปหรือเลี้ยวขวา

ป้ายบังคับ

วงเวียน

ป้ายบังคับ

ช่องเดินรถจักรยานยนต์

ป้ายบังคับ

ช่องเดินรถจักรยาน

ป้ายบังคับ

เฉพาะคนเดิน

ป้ายบังคับ

ให้ใช้ความเร็ว

ป้ายบังคับ

สุดเขตบังคับ

ป้ายเตือน ใช้เพื่อเตือนผู้ขับขี่ล่วงหน้าถึงลักษณะการจราจรที่มีการเปลี่ยนแปลง มีการควบคุม หรืออาจมีอันตรายบนท้องถนน เตือนให้ผู้ขับขี่ได้ระมัดระวังและลดความเร็วลงเพื่อความปลอดภัย ควรใช้ป้ายเตือนเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เป็นจุดสนใจต่อผู้ขับขี่ ป้ายเตือนแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่1. ป้ายเตือนทั่วไป ใช้พื้นป้ายเป็นสีเหลือง สัญลักษณ์และตัวอักษรจะเป็นสีดำ

ตัวอย่างป้ายเตือน
ป้ายเตือน

เตือนทางโค้งซ้าย

ป้ายเตือน

เตือนทางโค้งขวา

ป้ายเตือน

เตือนทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวซ้าย

ป้ายเตือน

เตือนทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวขวา

ป้ายเตือน

เตือนทางโค้งเริ่มซ้าย

ป้ายเตือน

เตือนทางโค้งเริ่มขวา

ป้ายเตือน

เตือนทางคดเคี้ยวเริ่มซ้าย

ป้ายเตือน

เตือนทางคดเคี้ยวเริ่มขวา

ป้ายเตือน

เตือนทางแยก

ป้ายเตือน

เตือนทางแยก

ป้ายเตือน

เตือนทางแยก

ป้ายเตือน

เตือนทางแยก

ป้ายเตือน

เตือนทางแยก

ป้ายเตือน

เตือนทางแยก

ป้ายเตือน

เตือนทางแยก

ป้ายเตือน

เตือนทางแยก

ป้ายเตือน

เตือนทางแยก

ป้ายเตือน

เตือนทางแยก

ป้ายเตือน

เตือนช่องจราจรลดลง

ป้ายเตือน

เตือนช่องจราจรลดลง

ป้ายเตือน

เตือนทางขึ้นลาดชัน

ป้ายเตือน

เตือนทางลงลาดชัน

ป้ายเตือน

เตือนทางร่วม

ป้ายเตือน

เตือนทางร่วม

ป้ายเตือน

เตือนจุดกลับรถ

ป้ายเตือน

เตือนจุดกลับรถ

ป้ายเตือน

เตือนรถวิ่งสวนทาง

ป้ายเตือน

เตือนรถวิ่งสวนทาง

ป้ายเตือน

เตือนรถวิ่งสวนทาง

ป้ายเตือน

เตือนรถวิ่งสวนทาง

ป้ายเตือน

เตือนระวังสัตว์

ป้ายเตือน

เตือนแนวทาง

ป้ายเตือน

เตือนแนวทาง

ป้ายเตือน

เตือนสิ่งกีดขวาง

ป้ายเตือน

เตือนสิ่งกีดขวาง

ป้ายเตือน

เตือนสิ่งกีดขวาง

2. ป้ายเตือนเกี่ยวกับงานก่อสร้างและบำรุงทาง ใช้พื้นป้ายเป็นสีแสด สัญลักษณ์และตัวอักษรจะเป็นสีดำ

ตัวอย่างป้ายเตือนเกี่ยวกับงานก่อสร้างและบำรุงทาง

ป้ายแนะนำ ใช้เพื่อแนะนำผู้ขับขี่ได้ทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นในการเดินทาง ให้ไปยังจุดหมายได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ควรติดตั้งเป็นระยะเพื่อเป็นข้อมูลตลอดระยะการเดินทาง ป้ายแนะนำมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะถ้าผู้ขับขี่ไม่สามารถเลี้ยวออกจากช่องจราจรได้ทันเวลา จะต้องเสียเวลาอย่างมากในการเดินทางกลับมาที่เดิม ป้ายแนะนำแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่1.1 ป้ายแนะนำทั่วไป ส่วนใหญ่ติดตั้งบริเวณทางแยกหรือบริเวณอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ขับขี่ได้ทราบถึงทิศทาง ระยะการเดินทางไปยังจุดหมาย และข้อมูลของสถานที่ต่าง ๆ เช่น แม่น้ำลำคลอง ป่าไม้ สถานที่สำคัญ เป็นต้น

ตัวอย่างป้ายแนะนำทั่วไป

1.2 ป้ายแนะนำทั่วไปแขวนสูง มักจะติดตั้งบริเวณทางหลวงที่มีขนาด 2 ช่องจราจรขึ้นไป เพื่อให้ผู้ขับขี่มองเห็นป้ายจราจรได้อย่างชัดเจนบนทางหลวงที่มีช่องจราจรขนาดกว้างหรือในช่วงที่มีการจราจรที่หนาแน่น

ตัวอย่างป้ายแนะนำทั่วไปแขวนสูง

2. ป้ายแนะนำบนทางหลวงพิเศษ มีความจำเป็นมากกว่าป้ายแนะนำชนิดอื่น ๆ ผู้ขับขี่จะต้องเลือกช่องจราจรให้ถูกต้องล่วงหน้า เพราะการขับขี่ในทางหลวงพิเศษมีการใช้ความเร็วสูง ป้ายแนะนำบนทางหลวงพิเศษจึงต้องมีความชัดเจนต่อผู้ขับขี่ การออกแบบป้ายแนะนำบนทางหลวงพิเศษจึงมีมาตรฐานที่สูงกว่าป้ายแนะนำทั่วไป

ป้ายจราจรทุกป้ายจำเป็นต้องใช้วัสดุที่มีการสะท้อนแสงได้ดีในการทำป้ายจราจร แต่ถ้าต้องการเพิ่มความสว่างให้กับป้ายจราจรเพื่อการมองเห็นในเวลากลางคืนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากไฟหน้ารถยนต์มีการสะท้อนแสงที่ไม่เพียงพอ ก็สามารถติดไฟส่องสว่างด้านหน้าป้าย โดยให้มีความสว่างสม่ำเสมอทั้งหน้าป้าย หรือใช้หลอดไฟทำเป็นรูปสัญลักษณ์ ตัวเลข ตัวอักษร ให้มองเห็นป้ายได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในเวลากลางคืน แต่การให้ความสว่างแก่ป้ายนั้น สี รูปแบบ สัญลักษณ์ยังต้องคงเดิมและเป็นไปตามมาตรฐานทางหลวง ไฟที่ส่องสว่างนั้นจะต้องไม่กระทบกับสายตาผู้ขับขี่จนลดทัศนวิสัยในการมองเห็น